ตอนที่ 1 ปัญหาขยะ
ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ และต้องร่วมมือแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ทุกระดับ และนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร แต่ปัจจุบันมีการใช้ สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวก
- พลาสติก
- โฟม
- แก้ว
- กระดาษ
- โลหะ
- อลูมิเนียม เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย
ตอนที่ 2 ผลกระทบจากปัญหาขยะมูลฝอย
ผลกระทบที่จะตามมาจากขยะมูลฝอยมีทั้งความสูญเสีย ทางด้าน
- สิ่งแวดล้อม
- ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
- ดินเสื่อมสภาพ
- ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
- รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค
อย่างไรก็ตามขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ใหม่ได้ในอัตราที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณขยะมูลที่เกิดขึ้นโดย
- สามารถนำขยะจำพวกพลาสติก แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียม มารีไซเลิคได้ร้อยละ 30 – 35
- และนำขยะอินทรีย์หรือขยะที่สามารถย่อยสลายได้มาหมักทำปุ๋ยได้ร้อยละ 45 – 50
แต่ปัจจุบันอัตราการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มีเพียงร้อยละ 22 ของปริมาณขยะมลูฝอยที่เกิดขึ้น ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับขยะมลูฝอยที่มีศักยภาพในการกลับมาใช้ ประโยชน์ได้ ดังนั้น หากทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยโดยเริ่มจากตนเอง ครอบครัว หรือชุน ก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยได้ และยังช่วยให้ ประหยัดงบประมาณและทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย ครั้งหน้า จะพาไปรู้จักกับคำว่า “ขยะ” ให้มากขึ้น
ตอนที่ 3 ขยะคืออะไร?
คำว่า ขยะ หรือ ขยะมูลฝอย หากจะกล่าวถึงคำ ๆ นี้ ทุกคนคงคิดถึงของเสีย สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งที่เป็นปัญหาที่เราควรนำไปกำจัดทิ้ง นั่นคือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะ
ที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ
ดังนั้นหากต้องการให้ปัญหาของขยะมูลฝอยสามารถจัดการได้ง่ายขึ้นก็ต้องอาศัยความร่วมมือของพวกเราทุก ๆ คน และจะพาไปรู้จักกับประเภทของขยะ รอติดตามตอนต่อไป ด้วยความปรารถนาดีจากกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ตอนที่ 4 การคัดแยกขยะ โดยทั่วไปแล้วขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) ขยะย่อยสลาย หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและ ย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยที่ขยะย่อยสลายนี้เป็นขยะที่พบมากที่สุด คือ พบมากถึง 64% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
ถังรองรับมูลฝอยย่อยสลาย คือ ถังสีเขียว
2) ขยะรีไซเคิล หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องเครื่องดื่ม แบบUHT เป็นต้น สำหรับขยะรีไซเคิลนี้เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ 30% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
ถังรองรับมูลฝอยที่ยังใช้ได้ (รีไซเคิล) คือ ถังสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน
3) ขยะทั่วไป หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือ จากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิลและขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก เปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับ บรรจุเครื่องอุปโภคด้วยวิธีรีดความร้อน เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียง 3% ของปริมาณขยะทั้งหมด ในกองขยะ
ถังรองรับมูลฝอยทั่วไป คือ ถังสีเหลือง
4) ขยะอันตราย หรือมูลฝอยอันตราย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น สำหรับขยะทั่วไปนี้เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบประมาณ 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
ถังรองรับมูลฝอยอันตราย คือ ถังสีแดง
ตอนที่ 5 ลดการใช้ (Reduce)
จากปัญหาที่เราได้บอกไปครั้งก่อน เราสามารถช่วยกันลดปริมาณขยะด้วยหลักการง่ายๆ สามประการ ( 3R ) ดังนี้
- ลดการใช้ (Reduce)
- การใช้ซ้ำ (Reuse)
- การรีไซเคิล (Recycle)
และวันนี้เราจะนำเสนอ วิธีที่ 1 ลดการใช้ (Reduce) เป็นการป้องกันให้มีขยะเกิดขึ้นน้อยที่สุด เช่น
- ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ (Refuse)
1.1 ปฏิเสธการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย รวมทั้งขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก หรือขยะมีพิษอื่น ๆ
1.2 หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์หลายชั้น
1.3 หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าชนิดใช้ครั้งเดียว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานต่ำ
1.4 ไม่สนับสนุนร้านค้าที่กักเก็บและจำหน่วยสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย และไม่มีระบบเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว
1.5 กรณีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประจำบ้านที่ใช้เป็นประจำ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดบรรจุใหญ่กว่า เนื่องจากใช้บรรจุภัณฑ์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์
1.6 ลดหรืองดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย โดยเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการ
- เลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ (Return)
2.1 เลือกซื้อสินค้าหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีระบบมัดจำ – คืนเงิน เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ
2.2 เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ หรือมีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิล เช่น ถุงช๊อปปิ้ง โปสการ์ด
2.3 เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตเรียกคืนซากบรรจุภัณฑ์ หลังจากการบริโภคของประชาชน
ตอนที่ 6 การใช้ซ้ำ (Reuse)
การใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นการใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุดก่อนจะทิ้งไป เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งาน
ได้กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย เช่น
1. เลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง เช่น แบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าใหม่ได้
2. ซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ (Repair) ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
3. บำรุงรักษาเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้คงทนและยาวนานขึ้น
4. นำบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้อื่นๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การใช้ซ้ำถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุงกระดาษ และกล่องกระดาษ การใช้ซ้ำขวดน้ำดื่ม เหยือกนม และกล่องใส่ขนม
5. ยืม เช่า หรือใช้สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บ่อยครั้งร่วมกัน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร
6. บริจาคหรือขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือใช้สอยอื่นๆ
7. นำสิ่งของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนำยางรถยนต์มาทำเก้าอี้ การนำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นที่ใส่ของ แจกัน การนำเศษผ้ามาทำเปลนอน เป็นต้น
8. ใช้ซ้ำวัสดุสำนักงาน เช่น การใช้กระดาษทั้งสองหน้า เป็นต้น
ตอนที่ 7 การรีไซเคิล (Recycle)
การรีไซเคิล (Recycle) เป็นการนำวัสดุที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้นำมาแปรรูปใช้ใหม่โดยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีนี้ช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษ
ที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดปริมาณขยะลงด้วย ซึ่งเราสามารถทำได้โดย
- คัดแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล
- นำไปขาย/บริจาค/นำเข้าธนาคารขยะ เพื่อเข้าสู่วงจรของการนำกลับไปรีไซเคิล
นอกจากนี้เรามีส่วนร่วมในการรีไซเคิล ขยะได้โดยการคัดแยกขยะที่รีไซเคิลได้จากขยะทั่วไปที่บ้าน สถานศึกษา ทีทำงาน และนำขยะนี้ไปและนำขยะนี้ไปขายให้แก่ร้านรับซื้อของเก่า